วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

การใช้ Infinitive ในภาษาอังกฤษ

   การใช้ Infinitive และ Gerund ในภาษาอังกฤษ


การใช้ Infinitive ในภาษาอังกฤษ

       Infinitive คือ คำกริยารูปปกติ (กริยาช่อง 1) ซึ่งในภาษาอังกฤษนี้เราสามารถแบ่ง infinitive ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ   Infinitive with to, Infinitive without to

       การใช้กริยา 2  ตัวนี้มันแทบจะไม่ต่างกันเลย เพียงแค่ตัด to กับไม่ตัด to แต่เวลานำมาใช้จริงกับแตกต่างกันมาก ซึ่งจุดนี้คือจุดที่หลายคน งง กันมาก


1.Infinitive with to....

       Infinitive with to.....หรือ กริยาช่อง 1 ที่นำหน้าด้วย To เป็นกริยาที่ตามด้วย to + infinitive ตามหลังกริยาแท้ส่วนลักษณะการใช้นั่นก็แบ่งหน้าที่การใช้ได้หลายรูป เช่น เป็นคำนามทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค, เป็นกรรมของประโยค
ทำหน้าที่เป็นคำขยาย ขยายคำนาน (Noun) หรือ คำคุณศัพท์ (Pronoun), ทำหน้าที่เป็นคำขยายกริยา (adverb)เป็นต้น ตัวอย่างเช่น..

" I want to sleep " ประธานคือ I (ฉัน) กริยาคือ want ต้องการ ฉะนต้องการ..?? ต้องการอะไร ต้องการที่จะหลับ....sleep(หลับ) ตัวนี่จึงเป็น Infinitive ทำหน้าที่เป็นกรรม ที่มี To นำหน้า เหมือนกับคำนาม นั่นเอง

*ประโยคนี้เป็นการแสดงจุดประสงค์ว่า ฉันต้องการอะไร ดังนั้นจึงต้องใข้ infinitive with to


2.Infinitive without to....
       Infinitive without to......หรือ กริยาช่อง 1 ที่ไม่มี To นำหน้า ส่วนใหญ่คำกริยาประเภทนี้จะไว้หลังกริยาช่วยและกริยาพิเศษ หรือ ใช้กับกริยาที่เกี่ยวกับการสัมผัส มีหลักการใช้ดังนี้ 

1. Verb นั้นตามหลัง modal

เช่น "can could shall shoul will would"
เช่น "will go ไม่ใช่ i will to go" 

2.ใช้หลัง Verb(คำกริยา) ที่แสดงการรับรู้

เช่น "see hear watch notice feel"

3.ใช้หลังคำว่า let และ make

เช่น "The teacher let us go early"

4.หลัง Expression(ความรู้สึก, ความปรารถนา)ที่มีคำว่า why

เช่น "Why go out now?"

ตัวอย่างเช่น " You must let me go. " เราจะเห็นว่าประธานและกริยาแท้ก็คือ "You must let" เธอจะต้องปล่อย...กริยา "ปล่อย" หรือ "อนุญาต" นั้น ก็จะต้องบอกว่าปล่อยให้ใคร ทำอะไร ซึ้งใครในที่นี้ก็คือ "me" และทำอะไรก็คือ"go" ไปนั้นเอง ... เธอจะต้องปล่อย..ปล่อยใคร ปล่อยฉัน ปล่อยอะไร ปล่อยฉันไป นั้นเองครับ และ "go" ก็เป็น Infinitiveเช่นกัน

Gerund
       Gerund  คือ คำกริยา รูปปกติ (กริยาช่อง 1) ซึ่งถูกเติม ing ข้างหลัง ตามหลังกริยาแท้ เพื่อที่จะทำการแปลงจากคำกริยาเป็นคำนาม เมื่อนำมาใช้ในประโยคนั้น สามารถที่จะเป็นประธาน กรรม แบบคำนามในขณะนั้นครับ ตัวอย่างเช่น..

"I like reading." ประธานคือ I กริยาคือ like "ฉันชอบ...." ชอบอะไร ..? ชอบ "อ่าน" reading.. "ฉันชอบการอ่าน" จะเห็นว่ากริยา read เติม ing มาทำหน้าที่แทนคำนาม ซึ้งเป็นกรรมของประโยค ....Gerund ในที่นี้จึงมาทำหน้าที่แทนคำนามซึ้งเป็นกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น